วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2555

การทำนาของภาคใต้


                          ภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคใต้




                      ภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคใต้ ( การทำนา )
                     วิชา การงานอาชีพและเทคโนโลยี  (ง.33101)
              เสนอ
               อาจารย์พรทิพย์         มหันตมรรค
            จัดทำโดย
                 นางสาวเววิกา  อุปการดี       เลขที่ 34
                  นางสาวสิริกานต์  ทองสงฆ์   เลขที่ 37
                    ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1  ภาคเรียนที่  ปีการศึกษา 2555
                  วิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช
                     สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์     กระทรวงวัฒนธรรม



บทคัดย่อ

โครงงานเรื่องภูมิปัญญาภาคใต้  การทำนาอำเภอหัวไทร  ของนางกอบกุล  ทองสงฆ์  จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาเกี่ยวกับภูมิปัญญาการทำนา  วิธีขั้นตอนการทำนา  ตั้งแต่การเตรียมเมล็ดพันธ์  การหว่านข้าว  การเก็บเกี่ยว  การตากข้าวและการเก็บรักษาข้าว
การทำนาถือได้ว่าเป็นภูมิปัญญาที่คนไทยส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับอาชีพนี้มากเพราะอาชีพนี้ถือได้ว่าเป็นอาชีพที่อยู่คู่กับคนไทยมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  การทำนาเป็นอาชีพที่ต้องมีความตระหนักต่อสู้  อดทนในการดำรงชีวิตเป็นอย่างมาก  ดังนั้นอาชีพการทำนาจึงเป็นอาชีพที่มีภูมิปัญญาทางด้านท้องถิ่นของคนภาคใต้และทั้งยังเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยให้คงอยู่สืบทอดต่อไป



กิตติกรรมประกาศ
               
โครงงานเล่มนี้สำเร็จลงได้ด้วยความอนุเคราะห์อย่างยิ่งจากอาจารย์พรทิพย์  มหันตมรรค
 ที่เป็นอาจารย์ประจำวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี  ที่ได้สละเวลาอันมีค่าที่ให้คำแนะนำข้อคิดเห็น   คำปรึกษาในโครงงานเล่มนี้    และแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆด้วยความเอาใจใส่ด้วยดีมาตลอด
นอกจากนี้ขอขอบคุณ  นางกอบกุล  ทองสงฆ์  ที่ให้คำแนะนำในเรื่องการทำนา 
คณะผู้จัดทำรู้สึกเป็นพระคุณอย่างยิ่ง   จึงใคร่ขอขอบพระคุณทุกๆท่าน  ณ  โอกาสนี้
อนึ่งหากโครงงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการเรียน   คณะผู้จัดทำขออุทิศความดีให้แก่พระคุณของครูบาอาจารย์   บิดา  มารดา  ที่ได้อบรมสั่งสอนและทุกๆท่านที่เป็นกำลังใจให้ประสบความสำเร็จของโครงงานเล่มนี้


คณะผู้จัดทำ


  
บทที่  1
บทนำ
แนวคิดที่มาและความสำคัญ
เนื่องจากคนไทยทั้งในสมัยโบราณและในปัจจุบันทานข้าวเป็นอาหารหลักซึ่งในแต่ละวันต้องทานข้าวอย่างน้อยเป็น 2 มื้อ และทั้งนี้ยังนำข้าวไปแปรรูปเป็นอาหารประเภทต่างๆ  เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของข้าวจึงได้มีการศึกษาวิธี  ขั้นตอนการทำนา  การเก็บเกี่ยว  ซึ่งช่วยให้คนไทยได้เข้าใจถึงความสำคัญของข้าวและวิธีการทำต่างๆ  ทั้งยังเป็นการช่วยสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นไว้และยังเป็นการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการทำนาให้แก่ผู้ที่สนใจได้อีกด้วย
วัตถุประสงค์
                 1. เพื่อให้คนไทยได้รู้จักวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง
                 2. เพื่อให้ทราบถึงขั้นตอนการทำนา
                 3. เพื่ออนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญาการทำนาประจำท้องถิ่น
หลักการและทฤษฎี
คนไทยตั้งแต่ตลอดจนถึงปัจจุบันมีความสัมพันธ์กับเรื่องข้าว  ดังนั้นข้าวจึงเป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์  เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของข้าวจึงได้ศึกษาขั้นตอนการทำนาและการทำนาข้าวยังเป็นวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงที่ควรอนุรักษ์และสืบสานไว้
ขอบเขตของโครงงาน
1.  ศึกษาค้นคว้าจากอินเทอร์เน็ต
                  2.  สอบถามจากผู้รู้คือ
-  นางกอบกุล   ทองสงฆ์   บ้านเลขที่ 102  หมู่ที่ตำบลเขาพังไกร  อำเภอหัวไทร 
 จังหวัดนครศรีธรรมราช  ประกอบอาชีพทำนา


ขั้นตอนและแผนการดำเนินงาน   
ลำดับที่
รายการ
ระยะเวลา
1
  คิดหัวเรื่อง
 1 สิงหาคม  2555
2
  ศึกษาค้นคว้าข้อมูล
 6 สิงหาคม  2555
3
  จัดทำโครงร่าง
 8 สิงหาคม  2555
4
  ปฏิบัติตามโครงร่าง
11 สิงหาคม 2555
5
  นำเสนอครั้งที่ 1
15 สิงหาคม  2555
6
  นำเสนอครั้งที่ 2
17 สิงหาคม 2555
7
  แก้ไขปรับปรุง
18 สิงหาคม 2555
8
  จัดทำเอกสาร
20 สิงหาคม 2555
9
  ประเมินผล
21 สิงหาคม 2555
10
  นำเสนองานผ่านบล็อค
22 สิงหาคม 2555

สถานที่ในการดำเนินงาน
         บ้านเลขที่  102  หมู่ที่ 1  ตำบลเขาพังไกร อำเภอหัวไทร  จังหวัดนครศรีธรรมราช
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
                  1. ได้รับความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการทำนา
                  2.  ได้ดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง
                  3. ได้อนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญา การทำนา ประจำท้องถิ่น



บทที่  2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง



ประวัติความเป็นมาข้าวไทย




ข้าว ของไทยเป็นพืชอาหารประจำชาติที่มีตำนานประวัติศาสตร์มายาว นานปรากฏ เป็นร่องรอยพร้อมกับอารยธรรมไทยมาไม่น้อยกว่า 5,500 ปี ซึ่งมีหลักฐานจากแกลบข้าวที่เป็นส่วนผสมของดินใช้เครื่องปั้นดินเผาที่บ้าน เชียง อำเภอโนนนกทา ตำบลบ้านโคก อำเภอภูเวียง อันสันนิษฐานได้ว่าเป็น เมล็ดข้าวที่เก่แก่ที่สุดของไทยรวมทั้งยังพบหลักฐานเมล็ดข้าวที่ขุดพบที่ถ้ำ ปุงฮุง จังหวัดแม่ฮ่องสอนโดยแกลบข้าวที่พบนี้มีลักษณะของข้าวเหนียวเมล็ด ใหญ่ที่เจริญงอกงามในที่สูง
     นอกจากนี้ยังมีการคันพบเมล็ดข้าว เถ้าถ่านในดินและรอยแกลบข้าวบนเครื่องปั้นดินเผาที่โคกพนมดี อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี แสดงให้เห็นถึงชุมชนปลูกข้าวสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในแถบชายฝั่งทะเล รวมทั้งยังหลักฐานคล้ายดอกข้าวป่าที่ถ้ำเขาทะลุ จังหวัดกาญจนบุรี อายุประมาณ 2,800 ปี ซึ่งอยู่ในช่วงรอยต่อของยุคหินใหม่ตอนปลายกับยุคโลหะตอนต้น    
      ภาพเขียนบนผนังถ้ำหรือผนังหินอายุประมาณ 6,000 ปี ที่ผาหมอนน้อย บ้านตากุ่ม ตำบลห้วยไผ่ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี มีลักษณะคล้ายบันทึกการปลูกธัญพืชอย่างหนึ่งที่มีลักษณะเหมือข้าว ภาพควาย แปลงพืชคล้ายข้าว แสดงให้เห็นว่า มนุษย์ได้รู้จักการเพาะปลูกข้าวเป็นอย่างดีแล้ว
      นัก วิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่น 3 คน คือ Tayada Natabe, Tomoya Akihama และ Osamu Kinosgita แห่งมหาวิทยาลัย Tottri และ กระทรวงเกษตรและกรมป่าไม้ ได้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเรื่องข้าวไทย ดูแกลบจากแผ่นอิฐโบราณจากโบราณสถาน 108 แห่งใน 39 จังหวัดทั่งทุกภาคของประเทศไทย ทำให้สันนิษฐานได้ว่า การปลูกข้าวในไทยมีมานานนับตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 6 โดยข้าวที่ปลูกจะเป็นข้าวเหนียวนาสวนเมล็ดป้อม และข้าวเหนียวไร่เมล็ดใหญ่ ต่อมาการปลูกข้าวเหนียวไร่น้อยลง แล้วเริ่มมีการปลูกข้าวนาสวนเมล็ดเรียวเพิ่มขึ้น
     การศึกษาวิจัยนี้ทำให้ทราบว่า ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11-20 มีข้าวชนิดต่างๆ จำนวน 3 ขนาด คือ ข้าวเมล็ดใหญ่ ได้แก่ ข้าวเหนียวที่งอกงามในที่สูง ข้าวเมล็ดป้อม ได้แก่ ข้าวเหนียวที่งอกงามในที่ลุ่ม (ทั้งสองชนิดมีการเพาะปลูกก่อนสมัยทวาราวดี (พุทธศตวรรษที่ 11-16) และเมล็ดข้าวเรียว ได้แก่ ข้าวเจ้า พบในสมัยศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ 13-18) ซึ่งข้าวแต่ละชนิดพบมากหรือน้อยแตกต่างกันไปตามระยะเวลา
     ประมาณ พ.ศ. 540-570 ไทยได้รับอิทธิพลด้านกสิกรรมและการค้าจากจีน ซึ่งคาดว่ามาตามลำน้ำโขงสู่ดินแดนอีสานตอนล่าง ที่นิยมปลูกข้าวเหนียวเมล็ดป้อม และเมล็ดใหญ่กันอย่างแพร่หลาย เช่นเดียวกับภาคกลางในยุคทวาราวดี
     ใน ช่วงเวลานั้นเริ่มมีการเพาะปลูกข้าวเจ้าเมล็ดยาวเรียวขึ้นแล้ว สันนิษฐานว่านำมาจากอาณาจักรขอม ซึ่งในยุคนั้นถือว่า เป็นชนชั้นปกครอง การหุงต้มข้าวเมล็ดยาวนี้แตกต่างจากข้าวของชาวพื้นเมือง จึงเชื่อว่าเป็นสาเหตุให้ข้าวชนิดนี้ถูกเรียกว่าข้าวเจ้า และเรียกข้าวเหนียวว่า ข้าวไพร่ บ้างก็เรียกว่า ข้าวบ่าว หรือ “ข้าวนึ่ง ซึ่งข้าวในสมัยนั้นเรียกกันเป็นสิ่งบ่งบอกชนชั้นได้อีกด้วย
     ใน สมัยกรุงสุโขทัย (พ.ศ. 1740-2040) ข้าวที่ปลูกในสมัยนี้ยังเป็นข้าวเหนียวเมล็ดป้อมและเมล็ดยาวเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็เริ่มปลูกข้าวเจ้าเมล็ดยาวเรียวเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ ในยุคนี้พระมหากษัตริย์ทรงทำนุบำรุงการกสิกรรม ได้ผลผลิตอุดมสมบูรณ์ ดังปรากฏในศิลาจารึกว่า ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว มีการหักล้างถางพงและถือครองเป็นที่ทำกิน และที่ดินนั้นจะสืบทอดเป็นมรดกตกทอดแก่ลูกหลาน การสร้างหลักปักฐานเพื่อประกอบอาชีพกสิกรรมเช่นนี้ ก่อให้เกิดระบบการปกครอง เศรษฐกิจและสังคมขึ้น ดังนั้น ระบบศักดินาซึ่งเป็นการแบ่งระดับชนชั้นตามจำนวนของพื้นที่นาจึงน่าจะเริ่มใน ยุคนี้
     ต่อ มาเข้าสู่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น บ้านเมืองมีความมั่งคั่งเป็นอู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญ อีกทั้งหัวเมืองในอาณาจักรจำนวนมาก เริ่มระบบการปกครองแบบจตุสดมภ์มี กรมนา ดูแลและส่งเสริมและสนับสนุนการทำนาอย่างจริงจัง เพราะข้าวเป็นอาหารหลักของประชากรและเป็นเสบียงสำรองในยามเกิดศึกสงคราม โดยข้าวที่ปลูกส่วนใหญ่ยังคงเป็นข้าวเหนียวเมล็ดป้อม และเมล็ดยาว แต่การปลูกข้าวเจ้าเมล็ดยาวเรียวมากขึ้นด้วย
     สมัย กรุงศรีอยุธยาตอนปลาย-กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นในต้นรัชสมัยรัชกาลที่ 3 ได้มีการเก็บอากรข้าวในภาคกลาง ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ข้าวที่ทางราชการแนะนำ หรือพันธุ์พื้นเมืองที่มีคุณภาพ ส่วนภาคเหนือตอนบนนิยมปลูกข้าวเหนียว แต่ในภาคเหนือตอนล่างและภาคใต้เน้นปลูกข้าวเจ้าเป็นหลัก
     ใน ช่วงนี้เองที่ประเทศตะวันตกได้ออกล่าอาณานิคม และเมืองไทยเป็นหนึ่งในเป้าหมาย แต่ด้วยพระปรีชาญาณ และวิเทโศบายอันชาญฉลาดของพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ ไทยจึงรอดพ้นเงื้อมมือของต่างชาติ และดำรงเอกราชอยู่ได้ ซึ่งส่วนหนึ่งคือ การเปิดเสรีการค้ากับต่างประเทศมากขึ้น ส่งผลให้ข้าวกลายเป็นสินค้าออกที่สำคัญของไทย รัฐบาลต้องขยายพื้นที่เพาะปลูก เพิ่มปริมาณผลผลิตข้าวในเขตพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ที่มีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุด

      ปัจจุบัน การปลูกข้าวในประเทศไทย คงมีเพียงข้าวเมล็ดป้อมที่พบมากในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขณะที่ข้าวเมล็ดยาว พบมากในภาคกลางและภาคใต้ ที่มีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุด
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่ปลูกข้าว คิดเป็น 45 % ของพื้นที่เพาะปลูกทั้งประเทศ ส่วนใหญ่ปลูกข้าวหอมมะลิ 105 ซึ่งเป็นข้าวคุณภาพดีที่สุดของโลก ข้าวที่ปลูกในพื้นที่แถบนี้จึงมักปลูกไว้เพื่อขาย รองลงมาคือ ภาคกลาง และภาคเหนือ ที่พื้นที่เพาะปลูกเท่ากันประมาณ 25%
ทุกวันนี้ไทยเป็นแหล่งปลูกข้าวที่ผลิตออกสู่ตลาดโลกมากที่สุด และเป็นศูนย์กลางของการศึกษาวิจัยพันธุ์ข้าว ซึ่งแสดงให้เห็นถึงบทบาทของผู้สร้างตำนานแห่งอารยธรรมธัญญาหาร ของมนุษยชาติ


บทที่  3
วิธีการดำเนินงาน
วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า
                การศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยได้ดำเนินการศึกษาค้นคว้าตามลำดับดังต่อไปนี้
1ขั้นศึกษาข้อมูล
1.1  ขั้นสำรวจและศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง โดยการสำรวจและศึกษาเอกสารที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการทำนา
                                 1.2  ศึกษาขั้นตอนการวิธีการทำนา  การเตรียมเมล็ดพันธ์  การเก็บเกี่ยวข้าวและการดูแลรักษา จากคุณกอบกุล   ทองสงฆ์  อำเภอหัวไทร  จังหวัดนครศรีธรรมราช
2. ขั้นเก็บรวบรวมข้อมูล
2.1 ได้มีการเก็บรวมรวมข้อมูลจากการสำรวจและศึกษาจากเอกสารที่ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องการทำนา
2.2 ได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากการได้สังเกต และสัมภาษณ์
3. ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล

นำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้มาศึกษา และวิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์และเรียบเรียงนำเสนอในเชิงความเรียง

                                                          บทที่   4
ผลการศึกษา
ขั้นตอนการทำนา

การทำนาหว่านข้าวงอก 

การหว่านน้ำตม โดยการนำเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ถูกเพาะให้งอก มีขนาดตุ่มตา (มีรากงอกประมาณ 1-2 มิลลิเมตร) ไปหว่านลงในกระทงนา ซึ่งมีการเตรียมดินจนเป็นเทือก
แยกเป็น
        - การหว่านหนีน้ำ ทำในนาน้ำฝน เนื่องจากการหว่านข้าวแห้งหรือทำการตกกล้าไม่ทัน เมื่อฝนมามาก หลังจากเตรียมดินเป็นเทือกดีแล้ว ก็หว่านข้าวที่เพาะจนงอก ลงไปในกระทงนาที่มีน้ำขังอยู่มากจึงเรียกว่า นาหว่านน้ำตม
        - นาชลประทาน หรือนาในเขตที่มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ การทำนาในสภาพนี้มักจะให้ผลผลิตสูง หลังจากเตรียมดินเป็นเทือกดีแล้วระบายน้ำออกหรือให้เหลือน้ำขังบนผืนนาน้อยที่สุด นำเมล็ดพันธุ์ข้าวที่งอกขนาด ตุ่มตาหวานลงไป แล้วคอยดูแลควบคุมการให้น้ำ มักจะเรียกการทำนาแบบนี้ว่า การทำนาน้ำตมแผนใหม่








การทำนาหว่านน้ำตม

         การทำนาหว่านน้ำตมที่จะให้ได้ผลดีนั้น จะต้องปรับพื้นที่นาให้สม่ำเสมอ มีคันนาล้อมรอบและสามารถควบคุมน้ำได้ การเตรียมดินก็ปฏิบัติเช่นเดียวกับการเตรียมดินในนาดำ หลังการเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว ควรปล่อยให้เมล็ดข้าวที่ร่วงหล่นในนามีเวลางอกเป็นต้นข้าว เพื่อลดปัญหาข้าวเรื้อ หรือข้าววัชพืชในนา แล้วจึงไถดะ แล้วปล่อยน้ำเข้าพอให้ดินชุ่มอยู่เสมอ ประมาณ 5-10 วัน เพื่อให้เมล็ดวัชพืช งอกขึ้นมาเป็นต้นอ่อนเสียก่อนจึงปล่อยน้ำเข้านา แล้วทำการไถแปรและคราด หรือใช้ลูกทุบ จะช่วยทำลายวัชพืชได้ หากทำเช่นนี้ 1-2 ครั้ง หรือมากกว่านั้น โดยทิ้งระยะห่างกันประมาณ 4-5 วัน หลังจากไถดะไถแปร และคราดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ขังน้ำไว้ประมาณ 3 สัปดาห์ เพื่อให้ลูกหญ้าที่เป็นวัชพืชน้ำ เช่น ผักตบชวา ขาเขียด แห้วทรงกระเทียม ผักปอดและกกเล็ก เป็นต้น งอกเสียก่อน จึงคราดให้ละเอียดอีกครั้งหนึ่ง ลูกหญ้าจะหลุดลอยไปติดคันนาใต้ทางลม ก็จะสามารถช้อนออกได้หมด เป็นการทำลายวัชพืชวิธีหนึ่ง เมื่อคราดแล้วจึงระบายน้ำออกและปรับเทือกให้สม่ำเสมอ สำหรับผู้ที่ใช้ลูกทุบหรืออีขลุก ย่ำฟางข้าวให้จมลงไปในดินแทนการไถ หลังจากย่ำแล้วควรเอาน้ำแช่ไว้ ให้ฟางเน่าเปื่อยจนหมดความร้อนเสียก่อน อย่างน้อย 3 อาทิตย์ แล้วจึงย่ำใหม่ เพราะแก๊สที่เกิดจากการเน่าเปื่อยของฟางจะเป็นอันตรายต่อต้นข้าว จะทำให้รากข้าวดำไม่สามารถหาอาหารได้ หลังจากนั้นจึงระบายน้ำออกเพื่อปรับเทือก
         การปรับพื้นที่นาหรือการปรับเทือกให้สม่ำเสมอ จะทำให้ควบคุมน้ำได้สะดวก การงอกของข้าวดีเติบโตสม่ำเสมอ เพราะเมล็ดข้าวมักจะตายถ้าตกลงไปในแอ่งหรือหลุมที่มีน้ำขัง เว้นแต่กรณีดินเป็นกรดจัดละอองดินตกตะกอนเร็วเท่านั้นที่ต้นข้าวสามารถขึ้นได้ แต่ถ้าแปลงใหญ่เกินไปจะทำให้น้ำเกิดคลื่น ทำให้ข้าวหลุดลอยง่าย และข้าวรวมกันเป็นกระจุก ไม่สม่ำเสมอ นอกจากนั้นการปรับพื้นที่ให้สม่ำเสมอ ยังช่วยควบคุมการงอกของเมล็ดวัชพืช ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของการทำนาหว่านน้ำตมอีกด้วย การปรับพื้นที่ทำเทือก ควรทำก่อนหว่านข้าวหนึ่งวัน เพื่อให้ตะกอนตกดีเสียก่อน แล้วแบ่งกระทงนาออกเป็นแปลงย่อยๆ ขนาดกว้าง 3-5 เมตร ยาวตามความยาวของกระทงนา ทั้งนี้แล้วแต่ความสามารถของคนหว่าน ถ้าคนหว่านมีความชำนาญอาจแบ่งให้กว้าง การแบ่งอาจใช้วิธีแหวกร่อง หรือใช้ไหกระเทียมผูกเชือกลากให้เป็นร่องก็ได้ เพื่อให้น้ำตกลงจากแปลงให้หมด และร่องนี้ยังใช้เป็นทางเดินระหว่างหว่านข้าว หว่านปุ๋ย และพ่นสารเคมีได้ตลอดแปลง โดยไม่ต้องเข้าไปในแปลงย่อยได้อีกด้วย


การเตรียมเมล็ดพันธุ์

         - ตรวจความบริสุทธิ์ของเมล็ดพันธุ์ พิจารณาว่ามีเมล็ดข้าวพันธุ์อื่นหรือเมล็ดวัชพืชปนหรือไม่ ไม่มีโรคหรือแมลงทำลาย รูปร่างเมล็ดมีความสม่ำเสมอ ถ้าพบว่ามีเมล็ดข้าวพันธุ์อื่นหรือเมล็ดวัชพืชปน หรือมีโรค แมลงทำลายก็ไม่ควรนำมาใช้ทำพันธุ์
         - การทดสอบความงอก โดยการนำเมล็ดข้าว จำนวน 100 เมล็ด มาเพาะเพื่อดูเปอร์เซ็นต์ ความงอก อาจทำ 3-4 ซ้ำ เพื่อความแน่นอน เมื่อรู้ว่าเมล็ดงอกกี่เปอร์เซ็นต์จะได้กะปริมาณพันธุ์ข้าวที่ใช้ได้ถูกต้อง
          - คัดเมล็ดพันธุ์ให้ได้เมล็ดที่แข็งแรง มีน้ำหนักเมล็ดดีที่เรียกว่าข้าวเต็มเมล็ด จะได้ต้นข้าวที่เจริญเติบโตแข็งแรง



อัตราเมล็ดพันธุ์

        อัตราเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ในการทำนาหว่านน้ำตม ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ กล่าวคือ
ถ้ามีการเตรียมดินไว้ดี มีเทือกอ่อนนุ่ม พื้นดินปรับได้ระดับ เมล็ดที่ใช้เพียง 7-8 กิโลกรัมหรือ 1 ถังต่อไร่ ก็เพียงพอที่จะทำให้ได้ผลผลิตสูง แต่ถ้าพื้นที่ปรับได้ไม่ดี การระบายน้ำทำได้ยาก รวมถึงอาจมีการทำลายของนก หนู หลังจากหว่าน เมล็ดที่ใช้หว่านควรมากขึ้น เพื่อชดเชยการสูญเสีย ดังนั้นเมล็ดที่ใช้ควรเป็นไร่ละ 15-20 กิโลกรัม


การหว่าน 

        ควรหว่านให้สม่ำเสมอทั่วแปลง ข้าวจะได้รับธาตุอาหาร แสงแดด และเจริญเติบโตสม่ำเสมอกัน ทำให้ได้ผลผลิตสูง โดยเดินหว่านในร่องแคบๆ ที่ทำไว้ เมล็ดพันธุ์ที่ใช้หว่านแต่ละแปลงย่อย ควรแบ่งออกเป็นส่วนๆ ตามขนาดและจำนวนแปลงย่อย เพื่อเมล็ดข้าวที่หว่านลงไปจะได้สม่ำเสมอทั่วทั้งแปลง ในนาที่เป็นดินทรายมีตะกอนน้อยหลังจากทำเทือกแล้วควรหว่านทันที กักน้ำไว้หนึ่งคืนแล้วจึงระบายออก จะทำให้ข้าวงอกและจับดินดียิ่งขึ้น



การหว่าน


                      
 การกระจายของเมล็ดข้าวหลังหว่าน






สภาพการงอกและเจริญเติบโตหลังหว่าน




วิธีและขั้นตอนการทำนา



        การทำนาหว่านน้ำตม จะต้องมีการดูแลให้ต้นข้าวงอกดีโดยพิจารณาถึง
1. พันธุ์ข้าว การใช้พันธุ์ข้าวนาปีซึ่งมีลำต้นสูง ควรจะทำการหว่านข้าวให้ล่า ให้อายุข้าวจากหว่านถึงออกดอกประมาณ 70-80 วัน เนื่องจากความยาวแสงจะลดลง จะทำให้ต้นข้าวเตี้ยลง เนื่องจากถูกจำกัดเวลาในการเจริญเติบโตทางต้นและทางใบ ทำให้ต้นข้าวแข็งขึ้นและไม่ล้มง่าย สำหรับข้าวที่ไม่ไวแสงหรือข้าวนาปรังไม่มีปัญหา เพียงแต่กะระยะให้เก็บเกี่ยวในระยะฝนทิ้งช่วง หรือหมดฝน หรือหลีกเลี่ยงไม่ให้ข้าวบางพันธุ์ เช่น ปทุมธานี 1 ออกดอกในฤดูหนาวเป็นต้น
      
 2. ระดับน้ำ การจะผลผลิตข้าวให้ได้ผลผลิตสูงการควบคุมระดับน้ำเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะตั้งแต่เริ่มหว่านจนข้าวแตกกอ ระดับน้ำไม่ควรเกิน 5 เซนติเมตร เมื่อข้าวแตกกอเต็มที่ ระดับน้ำอาจเพิ่มสูงขึ้นได้ เพื่อจะได้ไม่ต้องสูบน้ำบ่อยๆ แต่ไม่ควรเกิน 10 เซนติเมตร เพราะถ้าระดับน้ำสูงจะทำให้ต้นข้าวที่แตกกอเต็มที่แล้ว เพิ่มความสูงของต้น และความยาวของใบ โดยไม่ได้ประโยชน์อะไร เป็นเหตุให้ต้นข้าวล้ม เกิดการทำลายของโรคและแมลงได้ง่าย








 3. การใส่ปุ๋ย ต้องใส่ปุ๋ยให้ถูกต้องตามระยะเวลาที่ข้าวต้องการ จำนวนที่พอเหมาะ จึงจะให้ผล                          คมค่า
 4. การควบคุมวัชพืช วัชพืชเป็นปัญหาใหญ่ในการทำนาหว่าน้ำตม การปรับระดับพื้นที่ให้ราบเรียบสม่ำเสมอและการควบคุมระดับน้ำจะช่วยลดประชากรวัชพืชได้ส่วนหนึ่ง ถ้ายังมีวัชพืชในปริมาณสูงจำเป็นต้องใช้สารเคมี
 5. การป้องกันกำจัดโรค  แมลง  และสัตว์ศัตรูข้าว  ปฏิบัติเหมือนการทำนา











การเก็บเกี่ยวข้าว


          เมื่อดอกข้าวได้บานและมีการผสมเกสรแล้วหนึ่งสัปดาห์ ภายในที่ห่อหุ้มด้วย lemma และ palea ก็จะเริ่มเป็นแป้งเหลวสีขาว ในสัปดาห์ที่สองแป้งเหลวนั้นก็จะแห้งกลายเป็นแป้งค่อนข้างแข็ง และในสัปดาห์ที่สามแป้งก็จะแข็งตัวมากยิ่งขึ้นเป็นรูปร่างของเมล็ดข้าวกล้อง แต่มันจะแก่เก็บเกี่ยวได้ ในสัปดาห์ที่สี่นับจากวันที่ผสมเกสร จึงเป็นที่เชื่อถือได้ว่า เมล็ดข้าวจะแก่พร้อมเก็บเกี่ยวได้หลังจากออกดอกแล้วประมาณ 28-30 วัน ชาวนาในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ใช้เคียวสำหรับเกี่ยวข้าวทีละหลาย ๆ รวง ส่วนชาวนาในภาคใต้ใช้แกระสำหรับเกี่ยวข้าวทีละรวง เคียวที่ใช้เกี่ยวข้าวมีอยู่ ๒ ชนิด ได้แก่ เคียวนาสวน และเคียวนาเมือง เคียวนาสวนเป็นเคียววงกว้าง ใช้สำหรับเกี่ยวข้าวนาสวนซึ่งได้ปลูกไว้แบบปักดำ แต่ถ้าผู้ใช้มีความชำนาญก็อาจเอาไปใช้เกี่ยวข้าวนาเมืองก็ได้ ส่วนเคียวนาเมืองเป็นเคียววงแคบและมีด้ามยาวกว่าเคียวนาสวน เคียวนาเมืองใช้เกี่ยวข้าวนาเมือง ซึ่งได้ปลูกไว้แบบหว่าน ข้าวที่เกี่ยวด้วยเคียวไม่จำเป็นต้องมีคอรวงยาว เพราะข้าวที่เกี่ยวมาจะถูกรวบมัดเป็นกำ ๆ ส่วนข้าวที่เกี่ยวด้วยแกระจำเป็นต้องมีคอรวงยาว เพราะชาวนาต้องเกี่ยวเฉพาะรวงที่ละรวงแล้วมัดเป็นกำๆ ข้าวที่เกี่ยวด้วยแกระชาวนาจะเก็บไว้ในยุ้งฉางซึ่งโปร่ง มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก และจะทำการนวดเมื่อต้องการขาย หรือต้องการสีเป็นข้าวสาร ข้าวที่เกี่ยวด้วยเคียวซึ่งปลูกไว้แบบปักดำ ชาวนาจะทิ้งไว้ในนาจนหมดซัง เพื่อตากแดดให้แห้งเป็นเวลา ๓-๕ วัน สำหรับข้าวที่ปลูกแบบหว่านพื้นที่นาจะแห้งในระยะเก็บเกี่ยว ข้าวจึงแห้งก่อนเก็บเกี่ยว ข้าวที่เกี่ยวแล้วจะกองทิ้งไว้บนพื้นที่นาเป็นรูปต่าง ๆ กันเป็นเวลา ๕-๗ วัน เช่น รูปสามเหลี่ยม แล้วจึงขนมาที่ลานสำหรับนวด ข้าวที่นวดแล้วจะถูกขนย้ายไปเก็บไว้ในยุ้งฉาง หรือส่งไปขายที่โรงสีทันทีก็ได้




การทำความสะอาดเมล็ดข้าว

          การทำความสะอาดเมล็ดข้าวหมายถึง การเอาข้าวเปลือกออกจากสิ่งเจือปนอื่น ๆ ซึ่งทำได้โดยวิธีต่าง ๆ ดังนี้
     1. การสาดข้าว ใช้พลั่วสาดเมล็ดข้าวขึ้นไปในอากาศ เพื่อให้ลมที่ได้จากการกระพือพัดเอาสิ่งเจือปนออกไป ส่วนเมล็ดข้าวเปลือกที่ดีก็จะตกมารวมกันเป็นกองที่พื้น
            
     2. การใช้กระด้งฝัด โดยใช้กระด้งแยกเมล็ดข้าวดีและสิ่งเจือปนให้อยู่คนละด้านของกระด้ง แล้วฝัดเอาสิ่งเจือปนทิ้ง วิธีนี้ใช้กับข้าวที่มีปริมาณน้อยๆ

     3. การใช้เครื่องสีฝัด เป็นเครื่องมือทุ่นแรงที่ใช้หลักการให้ลมพัดเอาสิ่งเจือปนออกไป โดยใช้แรงคนหมุนพัดลมในเครื่องสีฝัดนั้น พัดลมนี้อาจใช้เครื่องยนต์เล็ก ๆ หมุนก็ได้ วิธีนี้เป็นวิธีทำความสะอาดเมล็ดได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง




การตากข้าว

          เพื่อรักษาคุณภาพเมล็ดข้าวให้ได้มาตรฐานอยู่เป็นเวลานาน ๆ หลังจากนวดและทำความสะอาดเมล็ดแล้ว จึงจำเป็นต้องเอาข้าวเปลือกไปตากอีกครั้งหนึ่งก่อนที่จะเอาไปเก็บไว้ในยุ้งฉาง ทั้งนี้เพื่อให้ได้เมล็ดข้าวเปลือกที่แห้ง และมีความชื้นของเมล็ดประมาณ ๑๓-๑๕% เมล็ดข้าวในยุ้งฉางที่มีความชื้นสูงกว่านี้ จะทำให้เกิดความร้อนสูงจนคุณภาพข้าวเสื่อม นอกจากนี้จะทำให้เชื้อราต่าง ๆ ที่ติดมากับเมล็ดขยายพันธุ์ได้ดี จนสามารถทำลายเมล็ดข้าวเปลือกได้เป็นจำนวนมาก การตากข้าวในระยะนี้ ควรตากบนลานที่สามารถแผ่กระจายเมล็ดข้าวให้ได้รับแสงแดดโดยทั่วถึงกัน และควรตากไว้นานประมาณ ๓-๔ แดด ในต่างประเทศเขา  
ใช้เครื่องอบข้าว เพื่อลดความชื้นในเมล็ด ซึ่งเรียกว่า drier โดยให้เมล็ดข้าวผ่านอากาศร้อน



                                               


เก็บรักษาข้าว

          หลังจากชาวนาได้ตากเมล็ดข้าวจนแห้ง และมีความชื้นในเมล็ดประมาณ ๑๓-๑๕% แล้วนั้น ชาวนาก็จะเก็บข้าวไว้ในยุ้งฉาง เพื่อไว้บริโภคละแบ่งขาย เมื่อข้าวมีราคาสูง และอีกส่วนหนึ่งชาวนาจะแบ่งไว้ทำพันธุ์ ฉะนั้นข้าวพวกนี้จะต้องเก็บไว้เป็นอย่างดี โดยรักษาให้ข้าวนั้นมีคุณภาพได้มาตรฐานอยู่ตลอดเวลาและไม่สูญเสียความงอก ข้าวพวกนี้ควรเก็บไว้ในยุ้งฉางที่ดี ซึ่งทำด้วยไม้ยกพื้นสูงอย่างน้อย ๑ เมตร อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อจะได้ระบายความชื้นและความร้อนออกไปจากยุ้งฉาง นอกจากนี้หลังคาของฉางจะต้องไม่รั่ว และสามารถกันน้ำฝนไม่ให้หยดลงไปในฉางได้ ก่อนเอาข้าวขึ้นไปเก็บไว้ในยุ้งฉางจำเป็นต้องทำความสะอาดฉางเสียก่อน โดยปัดกวาดแล้วพ่นด้วยยาฆ่าแมลง


บทที่  5
สรุป อภิปรายผล  และข้อเสนอแนะ


โครงงานเรื่อง  การทำนา เพื่อมาศึกษาวิธีการทำนา ทำให้ทราบถึงประวัติการทำนา  รูปแบบวิธีและขั้นตอนการทำนา  การเก็บเกี่ยวข้าว  และการตากข้าว  ทั้งยังเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยของชุมชนในท้องถิ่นภาคใต้อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่สมควรรับการส่งเสริม และอนุรักษ์ตลอดไป
จากการศึกษาพบว่า การทำนาเป็นภูมิปัญญาวิถีชีวิตที่มีมาตั้งแต่โบราณของคนไทย  ซึ่งการทำนาได้นับว่าเป็นวิถีชีวิตที่ต้องพึ่งพาธรรมชาติ คนในเกษตรสังคมจึงให้ความสำคัญและเคารพธรรมชาติ ทำให้มีพิธีกรรมและความเชื่อมากมาย ทุกขั้นตอนของกระบวนการผลิตข้าว มีทั้งพิธีกรรมส่วนครอบครัว ส่วนชุมชน ส่วนชุมชนที่พระมหากษัตริย์และราชการจัดขึ้น เป็นการปลูกฝังพฤติกรรมทางจริยธรรม ผูกจิตวิญญาณของคนไทยไว้กับข้าวจนเกิดเป็นวัฒนธรรม
การทำนา จึงเป็นอีกภูมิปัญญาหนึ่งที่ควรอนุรักษ์ถึงวัฒนธรรมของชุมชน ที่ได้สะท้อนความเป็นอยู่ของชาวบ้านในท้องถิ่นจังหวัดนครศรีธรรมราชตามที่ผู้วิจัยได้ทำการศึกษา

ประโยชน์ที่ได้รับ
    1. ทราบถึงวิธีการทำนาของชาวภาคใต้อำเภอหัวไทร
    2. เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ชุมชนมีบทบาทในการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม และรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมของท้องถิ่น
    3. .ทราบว่าภูมิปัญญาการทำนาลำบากและต้องใช้ความอดทน  เพื่อจะได้ข้าวที่มีคุณภาพ

ข้อเสนอแนะ

โครงงานเรื่องการทำนาเพื่อประกอบการศึกษาข้อมูล ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะดังต่อไปนี้

      1. ข้อเสนอแนะทั่วไป
             1.1  ควรจะนำผลจากการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ไปปรับใช้  หรือบอกต่อคนในชุมชนอื่นๆที่สนใจเพื่อ  อนุรักษ์  และสืบสานต่อไป
             1.2  ควรจะนำผลการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้เผยแพร่ให้กับบุคคลที่สนใจ เพื่อนำไปพัฒนาปรับปรุง เพื่อให้เข้ากับชุมชน
      2. ข้อเสนอแนะเพื่อการทำโครงงานครั้งต่อไป
             2.1  ควรจะได้ศึกษา รูปแบบวิถีชีวิตว่าการประกอบอาชีพเป็นอย่างไร และควรจะศึกษาข้อแตกต่างจากหลายๆชุมชนเพิ่มเติม



 แหล่งอ้างอิง
-     http:/www.google.com
-          กรมส่งเสริมการเกษตร 2551.ลดต้นทุนการปลูกข้าว.กรุงเทพฯ
-          กรมวิชาการเกษตร 2545.  เกษตรดีที่เหมาะสม  สำหรับข้าวนาชลประทาน.กรุงเทพฯ  โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด
-           กรมวิชาการเกษตรและกรมส่งเสริมสหกรณ์.2541. เอกสารประกอบการบรรยายหลักสูตร
-           สารานุกรมภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย - ภูมิปัญญาข้าวไทย จัดทำโดย สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน)



+++++++++++++++++++++++++++++


สิริกานต์  ทองสงฆ์
เววิกา  อุปการดี


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น